วันเสาร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

กระบวนการรีไซเคิลเบื้องต้นของวัสดุอื่นๆที่รีไซเคิลได้


การรีไซเคิลกระดาษ
การรีไซเคิล กระดาษเริ่มต้นด้วยกระบวนการใช้น้ำและสารเคมีกำจัดหมึกที่ปนเปื้อนออกไป ทำให้กระดาษเหล่านั้นกลายเป็นเนื้อเยื่อ จากนั้นจึงทำความสะอาดเนื้อเยื่อ เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการผลิตเส้นใยที่สามารถนำไปผลิตเป็นกระดาษต่อไป กระดาษที่ใช้แล้วเมื่อนำมาผลิตขึ้นใช้ใหม่มีกระบวนการที่ค่อนข้างซับซ้อน โดยเฉพาะจะต้องกำจัดสีที่ปนเปื้อนออกให้หมดเพราะการเจือปนแม้เพียงเล็กน้อยก็อาจทำให้กระดาษที่ผลิตใหม่ใช้ประโยชน์ไม่ได้ ไฟเบอร์ในเนื้อเยื่อกระดาษจะลดน้อยลงทุกขั้นตอนของกระบวนการรีไซเคิล กระดาษที่ผลิตขึ้นใหม่จึงมีคุณภาพด้อยลง มีเพียงร้อยละ 3 เปอร์เซ็นต์ของกระดาษหนังสือพิมพ์เท่านั้นที่สามารถนำไปผลิตเป็นสิ่งพิมพ์ได้ใหม่ กระดาษรีไซเคิลส่วนใหญ่จึงเหมาะสำหรับทำเป็นกล่องบรรจุสินค้า ทำเป็นฝ้าเพดาน
 
การรีไซเคิลอะลูมิเนียม
กระป๋องอะลูมิเนียมทุกใบสามารถส่งคืนกลับโรงงานเพื่อนำไปผลิตเป็นกระป๋องใหม่ได้โดยไม่มีขีดจำกัดจำนวนครั้งของการผลิต เมื่อกระป๋องอะลูมิเนียมถูกส่งเข้าโรงงานแล้วจะถูกบดให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วหลอมให้เป็นแท่งแข็งจากนั้นอะลูมิเนียมแท่งจะถูกนำไปรีดให้เป็นแผ่นแบนบางเพื่อส่งต่อไปยังโรงงานผลิตกระป๋อง เพื่อผลิตเป็นกระป๋องอะลูมิเนียมใหม่การรีไซเคิลกระป๋องอะลูมิเนียม จะทำให้ประหยัดพลังงานความร้อนได้ถึง 20 เท่าและช่วยลดมลพิษทางอากาศได้ถึงร้อยละ 95 ของการผลิตกระป๋องใหม่โดยใช้อะลูมิเนียมจากธรรมชาติ สำหรับกระป๋องที่ผลิตขึ้นจากเหล็กกล้าที่มีส่วนผสมของดีบุกอยู่เล็กน้อย
เพื่อป้องกันการเกิดสนิมนั้นใช้สำหรับบรรจุอาหารกระป๋องสำเร็จรูป ผลไม้กระป๋อง ผักกระป๋อง น้ำผลไม้ ฯลฯ เมื่อใช้แล้วก็สามารถนำมารีไซเคิลกระป๋องนั้นได้ โดยเริ่มต้นจากการกำจัดดีบุกที่เคลือบกระป๋องออกก่อนและเหลือไว้เฉพาะส่วนที่เป็นกล้าแล้วจึงนำไปหลอมเพื่อผลิตเป็นกระป๋องขึ้นใหม่
 
การรีไซเคิลแก้ว
แก้วบางชนิดใช้แล้วสามารถนำมาล้างทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคแล้วหมุนเวียนนำมาบรรจุใหม่ได้ซ้ำอีกได้อย่างน้อยถึง 30 ครั้ง โดยผู้ผลิตสินค้าประเภทเดิม เช่น ขวดเครื่องดื่ม แก้วบางชนิด ผลิตขึ้นเป็นเนื้อแก้วบางเบาเพื่อความสะดวกในการพกพา แต่ไม่สามารถนำมาล้างเพื่อใช้ใหม่ได้ แต่สามารถรวบรวมส่งคืนโรงงานเพื่อส่งเข้าสู่ระบบการผลิตขึ้นใหม่ที่เรียกว่า กระบวนการรีไซเคิล แก้วที่เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลจะถูกทุบและบดให้แตกละเอียดก่อนจะนำไปหลอมในเตาหลอม รวมกับวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเพื่อเป็นส่วนในการผลิตแก้วใหม่ การรีไซเคิลแก้วสามารถช่วยลดพลังงานความร้อนที่ใช้ในการผลิตได้มากกว่าการผลิตแก้วจากวัตถุดิบจากธรรมชาติ


 
 

อ้างอิง http://www.stou.ac.th/study/sumrit/10-53(500)/page10-10-53(500).html

 

รีไซเคิลคืออะไร?แล้วอะไรรีไซเคิลได้บ้าง?

รีไซเคิลคืออะไร ?

                  รีไซเคิล คือ การแปรรูปของใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ หรือกระบวนการที่เรียกว่า "รีไซเคิล" คือ การนำเอาของเสียที่ผ่านการใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ที่อาจเหมือนเดิม หรือไม่เหมือนเดิมก็ได้ของใช้แล้วจากภาคอุตสาหกรรม นำกลับมาใช้ใหม่ ได้แก่ กระดาษ แก้ว กระจก อะลูมิเนียม และพลาสติก "การรีไซเคิล" เป็นหนึ่งในวิธีการลดขยะ ลดมลพิษให้กับสภาพแวดล้อม ลดการใช้พลังงานและลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติของโลกไม่ให้ถูกนำมาใช้สิ้นเปลืองมากเกินไป



อะไรรีไซเคิลได้บ้าง?
             
                   สิ่งที่สามารถรีไซเคิลได้ในโลกมีอยู่มากมาย ยกตัวอย่างเป็นกลุ่มๆได้ดังนี้

ประเภทแก้ว
• ขวดโยเกิร์ต
• ขวด/มัสตาร์ด
• แยมทาขนมปัง
• ขวดรูปทรงต่าง ๆ
• ขวดเล็ก ๆ ต่าง 


ประเภทไม้
• แผ่นไม้
•ไม้ขีดไฟที่ใช้แล้ว
•ไม้ที่ลอยน้ำได้
•ไม้ชิ้นเล็ก ๆ
•ไม้ในรูปแบบที่น่าสนใจ
•ลัง/กล่องผัก
•กรอบไม้เก่า ๆ
•จุกขวดต่าง ๆ 



ประเภทกระดาษ
•กล่อง/ห่อต่างๆ 
•ภาพประกอบตามกล่องต่าง ๆ
•กระดาษประเภทโลหะ
•พลาสติกสำหรับตกแต่ง
•กล่องไม้ขีดไฟ
•กล่องรองเท้า
•กระดาษห่อของขวัญที่ใช้แล้ว
•หนังสือแม็กกาซีน
•แสตมป์ไปรษณีย์
•ตั๋ว ฉลาก ต่าง ๆ
•กระดาษแข็ง กล่องต่าง 



ประเภทพืชผัก
•พืชพรรณต่าง ๆ
•ดอกไม้อบแห้ง
•ใบไม้อบแห้ง 
•ลูกสนแห้งต่าง ๆ
•เกาลัด
•เครื่องเทศ
•เมล็ดพืชอบแห้ง 



ประเภทโลหะ
•ขวดชา
•ขวดโลหะเล็ก ๆ
•โคมไฟเก่า ๆ
•เข็มขัดโลหะ 


 
 
 
ประเภทกระดิ่งเม็ดต่าง ๆ
•กระดุมจาเสื้อผ้าเก่า ๆ
•ไข่มุก ลูกปัด จากสร้อยคอเก่า
•เพชรพลอยที่แตก
•เหรียญต่าง ๆ 




อื่น ๆ 
• รูปภาพต่าง ๆ
•บัตร แผนที่ต่าง ๆ
• ตั๋วต่าง ๆ 
• โบชัวร์และใบปลิวต่างๆ
• เปลือกหอยต่าง ๆ
• หินตามแม่น้ำต่าง ๆ
• เศษผ้าต่างๆ
 


            อนึ่ง การรีไซเคิลนั้นมีหลายวิธี ยกตัวอย่างเช่น การหลอมใหม่ การใช้ใหม่ การนำมาทำเป็นงานประดิษฐ์ การหมักเป็นปุ๋ย ฯลฯ ดังนั้น สิ่งที่รีไซเคิล จึงอาจเรียกรวมๆ ได้ว่า เกือบทุกอย่างบนโลกใบนี้สามารถนำมารีไซเคิลได้นั่นเอง



ขอบคุณข้อมูลจาก
http://yongrecycle.blogspot.com/2012/06/recycle.html#!/2012/06/recycle.html
http://www.human.nu.ac.th/echos_de_phitsanulok/2551/Thai/Environement/Environement2.html